ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจกับสงครามนั้น มีผลเกี่ยวข้องกัน เพราะผลจากการที่เกิดสงครามนั้น อาจจะทำให้เศรษฐกิจนั้นค่อยๆชะลอตัวลง และอาจจะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจถดถอยได้ อย่างเช่นตัวอย่างในปัจจุบัน สงครามระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนนั้น ที่ไม่รู้จะจบลงอย่างไร ทำให้ปัญหาในด้านของเศรษฐกิจได้ถูกหยิบยกกันขึ้นมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง เราจะมายกตัวอย่างความเกี่ยวข้องกันของเศรษฐกิจและสงคราม จากปัญหาสงครามของประเทศยูเครนกับรัสเซีย
โดยสงครามที่ได้เกิดขึ้นนั้น ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะ Stragflation หรือช่วงสภาวะเศรษฐกิจเติบโตต่ำ แต่ในทางกลับกันนั้นเงินเฟ้อกับเริ่มที่จะเร่งตัวขึ้นในหลายประเทศก็เริ่มที่จะเป็นไปได้มากขึ้น เช่น ในกลุ่มประเทศในแถบยุโรป จากปัญหาในด้านของพลังงานงานและต้นทุนด้านอาหารต่างๆ ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ดัชนียอดนิยมที่นักวิเคราะห์มักจะหยิบยกมาเป็นดัชนีนำ ภาวะเศรษฐกิจอยู่บ่อยครั้ง คือ ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 2 ปี ซึ่งในปัจจุบันนั้นก็ได้สะท้อนถึงสภาวะของเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้นเรื่อยๆจากส่วนต่างๆที่ได้แคบลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลัง ซึ่งทำให้เริ่มพูดถึงสภาวะของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะถดถอยลงสูงในปีหน้า
โดยผลกระทบจากสงครามในรอบนี้นั้น สามารถที่จะส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจได้ในหลายทิศทางด้วยกัน
– ราคาพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ต้นน้ำ แร่โลหะ และรวมไปถึงราคาอาหารต่างๆ ที่อาจจะส่งผลให้เงินเฟ้อนั้นเร่งตัวสูงขึ้น จากในระดับเดิมที่สูงที่สุดในรอบหลายสิบปีอยู่แล้ว แต่ในตอนสุดท้ายนั้นก็จะลดทอนอำนาจในการซื้อของครัวเรือนนั้นมากเพิ่มไปอีก
– การขาดแคลนธัญพืชต่างๆ โดยสงครามในครั้งนี้นั้นได้ส่งผลให้ราคาของข้าวสาลีปรับตัวสูงสุดในประวิการณ์ และก็ทำให้ราคาข้าวและถั่วเหลืองนั้นปรับตัวสูงที่สุดในรอบหลายปี ซึ่งเดิมนั้นก็ได้รับผลกระทบจากต้นทุนในการขนส่งและต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น สภาพอากาศที่แปรปรวนที่เกิดขึ้น สภาวะการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซียและยูเครนเองนั้นก็สร้างแรงกดดันในส่วนนี้เพิ่มขึ้นไปอีกเนื่องจากทั้งสองประเทศนั้นเป็นผู้ส่งออกหลักของสินค้าในประเภทธัญพืช
– การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบทั้งในส่วนของผู้ที่ดำเนินนโยบาย และรัสเซียเอง ซึ่งนั้นหมายถึงการแบนสินค้า หรือ การห้ามทำธุรกิจที่ต่อเนื่องระหว่างกันซึ่งมาตรการนั้นคงยังไม่จบลงง่ายๆและอาจจะลดการพึ่งพากันในระยะยาว
การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน อาหาร มาตราหาร Sanction ต่างๆ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานที่แย่ลงเพราะสงคราม นโยบายดังกล่าวที่เน้นการกระตุ้นอุปสงค์ของผู้เล่นระบบเศรษฐกิจ อาจที่จะทำให้ปัญหานั้นรุนแรงมากขึ้นไปอีก จากการเพิ่มอุปสงค์ที่ทำให้ขาดแคลนอุปทาน ทวีความรุนแรงขึ้น กดดันเงินเฟ้อ และยังก่อให้เกิดปัญหาอย่างต่อเนื่อง ยังไม่รวมถึงภาวะหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นมากในเกือบทุกประเทศ ยังไม่นับถึงความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการเมืองในอนาคต มาตรการต่างๆที่จะเพิ่มขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกตะวันออกและตะวันตกมากขึ้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงครามและส่งผ่านไปยังเศรษฐกิจของโลกทั้งในทางตรงและทางอ้อมนั้น เป็นสิ่งที่เพิ่มความไม่แน่นอนรวมไปถึงความเสี่ยงต่างๆให้กับตลาดเงินและการลงทุนเป็นอย่างมาก ทำให้ยังคงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการที่จะลงทุน และเน้นในเรื่องของการกระจายการลงทุนให้เหมาะสม ความผันผวนที่เพิ่มขึ้นนั้น ยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่อง และสิ่งเหล่านี้ได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนในหลายๆท่านด้วยกัน ทำให้อาจจะต้องอาศัยการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและอย่างใกล้ชิดกันต่อไป