ผู้ประท้วงจำนวนหลายแสนคน ชวนกันออกมาเดินขบวนตามท้องถนน โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเมืองหลายแห่งทั่วประเทศสหรัฐฯ ชื่อการรณรงค์ในครั้งนี้ คือ ‘March for our lives’ โดยมีจุดประสงค์ต้องการ เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาดูแลควบคุมการซื้อ-ขาย ตลอดจนการครอบครองอาวุธปืนด้วยความเข้มงวดขึ้น หลังจากเกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนหลายแห่งติดต่อกัน นับเป็นเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยการเดินขบวนดังกล่าว เกิดขึ้นในเมือง 800 แห่งทั้งในประเทศสหรัฐฯ และต่างประเทศ รวมถึงกรุง London และเมืองEdinburgh ของสหราชอาณาจักร , นคร Geneva ของสวิตเซอร์แลนด์ , นคร Sydney ของออสเตรเลีย รวมทั้งกรุง Tokyo ของประเทศญี่ปุ่นด้วย ณ…
สงครามทำให้เกิดปัญหาผู้ลี้ภัยหรือไม่
ตลอดช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้ยินข่าวคราวของผู้ลี้ภัยจำนวนมากทั่วโลก บางส่วนอยู่ในเงื้อมมือของพวกค้าของเถื่อน ต้องอยู่อาศัยในแคมป์ผู้ลี้ภัยที่แสนจะแร้นแค้น และยังถูกปล้นโดยพวกมาเฟียหรือถูกกดขี่จากผู้มีอิทธิพลในทุกที่ ตั้งแต่เยอรมนีจนถึงอาร์เจนตินา ท่ามกลางจำนวนผู้ลี้ภัยเพิ่มเร็วมากกว่าที่เคยเป็นมา ในความเป็นจริงไม่เคยมีคนถูกบังคับให้ออกจากสถานที่ใดๆ มากถึงขนาดนี้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ส่วนใหญ่เรามักจะโฟกัสไปที่ว่าพวกผู้ลี้ภัยกำลังจะเดินทางไปที่ไหน ไม่ได้สนใจกันว่าพวกเขากำลังวิ่งหนีจากอะไรมา ดังนั้นผู้ลี้ภัยคืออะไร และผู้คนกลายเป็นผู้ลี้ภัยได้อย่างไร เราจะเริ่มกันที่คำจำกัดความของ “ผู้ลี้ภัย” ที่เปลี่ยนไปตลอดทุกปี จากชาวโปรเตสแตนต์หลบหนีการกดขี่ทางศาสนาในฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 จนถึงชาวซีเรียที่หลบหนีระเบิดในศตวรรษที่ 21 คำว่า“ ผู้ลี้ภัย” ไม่ได้ถูกนิยามอย่างเป็นทางการในกฎหมายระหว่างประเทศจนกระทั่งอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี 1951 สิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งแรกของศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสาเหตุให้มีผู้พลัดถิ่นทั่วโลกประมาณ 50 ล้านคน ในปี 1951 มีเพียง 26 ประเทศที่เข้าการประชุมที่เจนีวาเพื่อนิยามผู้ลี้ภัยว่าเป็นบุคคลที่มี…