ใครๆ ก็ทราบกันดีว่า ประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ประเทศรัสเซียนั้น เป็น 2 ประเทศมหาอำนาจที่ไม่ว่าจะมองไปทางด้านไหน ประเทศอื่นๆ อีกมากมายก็ไม่สามารถสู้ความยิ่งใหญ่ของ 2 ประเทศนี้ได้ Read More
เศรษฐกิจกับสงครามมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจกับสงครามนั้น มีผลเกี่ยวข้องกัน เพราะผลจากการที่เกิดสงครามนั้น อาจจะทำให้เศรษฐกิจนั้นค่อยๆชะลอตัวลง และอาจจะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจถดถอยได้ อย่างเช่นตัวอย่างในปัจจุบัน สงครามระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนนั้น ที่ไม่รู้จะจบลงอย่างไร ทำให้ปัญหาในด้านของเศรษฐกิจได้ถูกหยิบยกกันขึ้นมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง เราจะมายกตัวอย่างความเกี่ยวข้องกันของเศรษฐกิจและสงคราม จากปัญหาสงครามของประเทศยูเครนกับรัสเซีย โดยสงครามที่ได้เกิดขึ้นนั้น ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะ Stragflation หรือช่วงสภาวะเศรษฐกิจเติบโตต่ำ แต่ในทางกลับกันนั้นเงินเฟ้อกับเริ่มที่จะเร่งตัวขึ้นในหลายประเทศก็เริ่มที่จะเป็นไปได้มากขึ้น เช่น ในกลุ่มประเทศในแถบยุโรป จากปัญหาในด้านของพลังงานงานและต้นทุนด้านอาหารต่างๆ ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ดัชนียอดนิยมที่นักวิเคราะห์มักจะหยิบยกมาเป็นดัชนีนำ ภาวะเศรษฐกิจอยู่บ่อยครั้ง คือ ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 2 ปี ซึ่งในปัจจุบันนั้นก็ได้สะท้อนถึงสภาวะของเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้นเรื่อยๆจากส่วนต่างๆที่ได้แคบลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลัง ซึ่งทำให้เริ่มพูดถึงสภาวะของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะถดถอยลงสูงในปีหน้า โดยผลกระทบจากสงครามในรอบนี้นั้น สามารถที่จะส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจได้ในหลายทิศทางด้วยกัน -…
NATO คืออะไร ทำไมยูเครนต้องเข้าร่วม
นาโต (NATO) คำนี้นั้นย่อมาจาก องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation) ซึ่งกลุ่มนี้นั้นเป็นกลุ่มพันธมิตรทางการทหารที่ได้มีการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1949 โดยมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรอังกฤษ เบลเยียม แคนาดา โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก ไอซ์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก ชาติสมาชิกทั้งหมดนั้นได้มีการทำข้อตกลงกันในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในกรณีที่ประเทศสมาชิกนั้นได้ถูกโจมตีด้วยอาวุธ โดยวัตถุประสงค์เดิมของนาโตนั้น คือ เพื่อที่จะทำการต่อสู้กับภัยคุกคามของรัสเซียที่ได้ทำการแผ่ขยายอำนาจเข้าไปยังยุโรป ในช่วงของหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่ในปี 1955 นั้น…
ทำไมรัสเซียถึงโจมตียูเครน
ทำไมรัสเซียถึงโจมตียูเครน หลายคนอาจสงสัยถึงความขัดแย้งอันรุนแรงของ 2 ชาติ เพื่อนบ้านของเรา ซึ่งอาจที่จะกลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่กลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 ก็เป็นได้ เหตุใดที่รัสเซียกับยูเครนถึงกำลังมีการที่จะทำสงครามกันเราจะมาสรุปกันให้เข้าใจ ดังนี้ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญนั้นเกิดขึ้นในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตนั้นได้มีการล่มสลาย แต่ละประเทศได้มีการแยกย้ายกันไปเพื่อที่จะได้มีเอกราชเป็นของตนเอง และยูเครนเองก็ได้เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามโรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตนั้นได้ตั้งอยู่ในเขตประเทศของยูเครน ทำให้มีหัวรบนิวเคลียร์ทั้ง 1,249 หัว อยู่ในนั้น จึงได้ตกไปเป็นของยูเครนโดยปริยาย การที่เก็บอาวุธนิวเคลียร์นั้น ถือได้ว่าเป็นการการันตีในความปลอดภัยของยูเครนว่าเพื่อนบ้านอย่างรัสเซียนั้นจะไม่มีการมารุกราน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ส่งผลให้สังคมโลกไม่สบายใจ เพราะเกรงว่ายูเครนจะนำเอาอาวุธอย่างนิวเคลียร์ไปใช้ในทางที่ผิด จึงได้มีความต้องการให้ยูเครนนั้นได้ทำการกำจัดหัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด ในวันที่ 5 ธันวาคมนั้น ยูเครน รัสเซีย สหราชอาณาจักร แล สหรัฐอเมริกา ได้ทำการเซ็นสนธิสัญญาร่วมกันในชื่อข้อตกลงบูดาเปสต์…
องค์กรที่ต่อต้านสงครามต่างๆ ทั่วโลกมีองค์กรอะไรบ้าง
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จบลงโดยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ 1945 หลังจากนั้นผู้นำจากชาติที่ชนะสงครามทั่วโลกก็ได้แบ่งเค็กก้อนโตหลังจากชัยชนะในครั้งนี้ พร้อมกับได้ประชุมวางแผนและแนวทางในการปกครองโลก โดยออกกฎต่างๆเพื่อควบคุมและคอยสอดส่งเหล่าประเทศเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ประเทศพี่ใหญ่พี่เบิ้มต่างก็ได้วางยาประเทศเล็กๆโดยนำเอาความขัดแย้งไปให้ โดยเฉพาะประเทศแถบตะวันออกกลางที่ปกครองโดยศาสนาอิสลาม พี่เบิ้มของโลกนำโดยสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่มีเป็นสองหัวหอกในการชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ให้ชาวยิวโดนทางกลับมาตุภูมิได้ตามมติสหประชาติ โดยชายยิวนั้นได้เรียกร้องการตั้งรัฐอิสระขึ้นมาชื่อว่า อิสราเอล ภายใต้กลุ่มไซออนนิสต์ โดยมติสหประชาติได้แบ่งดินแดน 60%ให้ชาวยิว ตั้งรัฐอิสราเอล และอีก 40% ให้ชาวฟิลิเตีย หรือปาเลสไตน์ โดยแบ่งเอาดินแดนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติของฝั่งสหประชาชาติในครั้งนี้ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากฝั่งชาวปาเลสไตน์ และกลุ่มชาวมุสลิมในแถบตะวันออกกลางแม้แต่น้อย นี่เลยเป็นที่มาของความขัดแย้งระหว่างชาวยิว(อิสราเอล) และบรรดาชาติมุสลิมในตะวันออกกลางและทั่วโลก ในปี ค.ศ 1948 รัฐยิวได้ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยชื่อว่า…
การสูญเสียในสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะมันสร้างความสูญเสียให้กับโลกอย่างมหาศาล แต่สงครามอันเป็นเรื่องราวในอดีตในเมื่อมันเกิดไปแล้ว มนุษย์ในปัจจุบันก็ควรทำการศึกษา และทำความเข้าใจ เพื่อมันจะได้ไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคตอะไรนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 ถือกำเนิดเกิดมาจาก ลัทธิจักรวรรดินิยม กับลัทธิชาตินิยม ต้องการแข่งขันกันทางด้านกองกำลังทหารและอาวุธ เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อเป็นพันธมิตร จนนำไปสู่เหตุการณ์อันเป็นชนวนสงคราม ทั้งในเรื่องของการคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติของตัวเอง ส่งผลให้ชาติต่างๆมาเข้าร่วมรบ จนทำให้สงครามขยายออกไปในวงกว้างกลายเป็นสงครามโลกในที่สุด ผลกระทบจากสงคราม ล้วนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆแก่มนุษยชาติเป็นอย่างมาก สุดท้ายมนุษย์จึงมีความพยายามในการร่วมมือกันเพื่อสร้างสันติภาพ ซึ่งเป็นสิ่งดีที่สุดการสูญเสียในสงครามโลกครั้งที่ 1สงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อความทุกข์ยากให้แก่มวลมนุษยชาติเป็นอย่างมาก สรุปได้ดังนี้• สงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อมวลมนุษยชาติอย่างแสนสาหัส ทำให้มีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตหลายล้านคน เด็กบางคนต้องสูญเสียผู้เป็นบิดา – มารดา อย่างไม่มีวันหวนกลับ ทั้งๆที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องกลายเป็นเด็กเร่ร่อน…
ความเสียหายของสงครามในประเทศซีเรีย
ในปี 2018 ผ่านมาเป็นเวลาถึง 7 ปีแต่สงครามในประเทศซีเรีย ยังไม่มีท่าทีจะทุเลาลง จนกระทั่งประธานาธิบดี Donald trump ออกมาขู่ว่าจะตอบโต้ซีเรียอย่าง “แข็งกร้าว”ย้อนรอยสาเหตุของการเกิดสงครามซีเรียนาย Asad ขึ้นรับตำแหน่งต่อจากพ่อของเขา นาย Hafez al-Assad ในปี 2000 ทุกอย่างเป็นไปตามครรลอง ก่อนที่ความขัดแย้งจะปะทุขึ้น ประชาชนเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาการว่างงาน , ปัญหาทุจริต รวมทั้งการปราศจากสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน ภายใต้การบริหารประเทศของนาย Asad www.sbobet24hr.comทำให้ในปี 2011 เกิดการชุมนุมประท้วง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยกลับคืนมา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ณ เมือง Daraa ซึ่งการชุมนุมนี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจากกระแส ”…
กลุ่มพลังมวลชนปัตตานี ร่วมต่อต้านความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
กลุ่มพลังมวลชนปัตตานี ผนึกกำลังกับกลุ่มพลังมวลชนสตรี , เด็ก และเยาวชน แห่ง จ.ปัตตานี จำนวน 1,000 คน ร่วมกันเดินรณรงค์เรียกร้อง ให้เกิดการยุติความรุนแรงในทุกรูปแบบ พร้อมกันนั้นยังประกาศเชิญชวนร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัย ยุติความรุนแรง พร้อมหยุดซ้ำเติมเหยื่อ ช่วยกันเสริมพลังสตรีเพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดแก่ชายแดนใต้ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 บริเวณถนนลานวัฒนธรรม จังหวัดปัตตานี กลุ่มพลังมวลชน ที่สมาชิกส่วนใหญ่เป็นสตรีและเด็ก จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี , เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 1,000 คน…
แนวร่วมในการต่อต้านสงครามอิรัก
‘สงครามอิรัก’ คือ เริ่มต้นสงครามมาตั้งแต่ วันที่ 20 มีนาคม 2003 ด้วยการรุกรานอิรัก โดยกองทัพแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา อันมีประธานาธิบดี George W Bush เป็นผู้นำ ร่วมด้วยสหราชอาณาจักร อันมีนายกรัฐมนตรี Tony Blair เป็นผู้นำ สำหรับสงครามในครั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้ออกมาประกาศผ่านสื่อว่า ยุติลงอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2011 หากแต่ความรุนแรงก็ยังคงเกิดขึ้นต่อไปในทั่วประเทศ แนวร่วมในการต่อต้านสงครามอิรัก อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้าเริ่มปฏิบัติการณ์ รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า มีความเป็นไปได้สูง ที่อิรักจะครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง ซึ่งสามารถคุกคามความมั่นคงได้…