ทำไมรัสเซียถึงโจมตียูเครน หลายคนอาจสงสัยถึงความขัดแย้งอันรุนแรงของ 2 ชาติ เพื่อนบ้านของเรา ซึ่งอาจที่จะกลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่กลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 ก็เป็นได้ เหตุใดที่รัสเซียกับยูเครนถึงกำลังมีการที่จะทำสงครามกันเราจะมาสรุปกันให้เข้าใจ ดังนี้ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญนั้นเกิดขึ้นในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตนั้นได้มีการล่มสลาย แต่ละประเทศได้มีการแยกย้ายกันไปเพื่อที่จะได้มีเอกราชเป็นของตนเอง และยูเครนเองก็ได้เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามโรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตนั้นได้ตั้งอยู่ในเขตประเทศของยูเครน ทำให้มีหัวรบนิวเคลียร์ทั้ง 1,249 หัว อยู่ในนั้น จึงได้ตกไปเป็นของยูเครนโดยปริยาย การที่เก็บอาวุธนิวเคลียร์นั้น ถือได้ว่าเป็นการการันตีในความปลอดภัยของยูเครนว่าเพื่อนบ้านอย่างรัสเซียนั้นจะไม่มีการมารุกราน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ส่งผลให้สังคมโลกไม่สบายใจ เพราะเกรงว่ายูเครนจะนำเอาอาวุธอย่างนิวเคลียร์ไปใช้ในทางที่ผิด จึงได้มีความต้องการให้ยูเครนนั้นได้ทำการกำจัดหัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด ในวันที่ 5 ธันวาคมนั้น ยูเครน รัสเซีย สหราชอาณาจักร แล สหรัฐอเมริกา ได้ทำการเซ็นสนธิสัญญาร่วมกันในชื่อข้อตกลงบูดาเปสต์…
สงครามทำให้เกิดปัญหาผู้ลี้ภัยหรือไม่
ตลอดช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้ยินข่าวคราวของผู้ลี้ภัยจำนวนมากทั่วโลก บางส่วนอยู่ในเงื้อมมือของพวกค้าของเถื่อน ต้องอยู่อาศัยในแคมป์ผู้ลี้ภัยที่แสนจะแร้นแค้น และยังถูกปล้นโดยพวกมาเฟียหรือถูกกดขี่จากผู้มีอิทธิพลในทุกที่ ตั้งแต่เยอรมนีจนถึงอาร์เจนตินา ท่ามกลางจำนวนผู้ลี้ภัยเพิ่มเร็วมากกว่าที่เคยเป็นมา ในความเป็นจริงไม่เคยมีคนถูกบังคับให้ออกจากสถานที่ใดๆ มากถึงขนาดนี้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ส่วนใหญ่เรามักจะโฟกัสไปที่ว่าพวกผู้ลี้ภัยกำลังจะเดินทางไปที่ไหน ไม่ได้สนใจกันว่าพวกเขากำลังวิ่งหนีจากอะไรมา ดังนั้นผู้ลี้ภัยคืออะไร และผู้คนกลายเป็นผู้ลี้ภัยได้อย่างไร เราจะเริ่มกันที่คำจำกัดความของ “ผู้ลี้ภัย” ที่เปลี่ยนไปตลอดทุกปี จากชาวโปรเตสแตนต์หลบหนีการกดขี่ทางศาสนาในฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 จนถึงชาวซีเรียที่หลบหนีระเบิดในศตวรรษที่ 21 คำว่า“ ผู้ลี้ภัย” ไม่ได้ถูกนิยามอย่างเป็นทางการในกฎหมายระหว่างประเทศจนกระทั่งอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี 1951 สิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งแรกของศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสาเหตุให้มีผู้พลัดถิ่นทั่วโลกประมาณ 50 ล้านคน ในปี 1951 มีเพียง 26 ประเทศที่เข้าการประชุมที่เจนีวาเพื่อนิยามผู้ลี้ภัยว่าเป็นบุคคลที่มี…